วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 : Thai Constitution 2550


1.  ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรน่าสนใจบ้าง


  1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่


  2. การลดอำนาจผูกขาดและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม


  3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใสและยุติธรรม


  4. การทำให้ระบบตรวจสอบ มีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง


ตอบ    ประเด็นของสิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวกับการศึกษา

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง


ตอบ  ประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และประเด็นของสิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวกับการศึกษา


4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย


ตอบ  การศึกษาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้ เพราะว่า นั้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญในฉบับที่ออกมาจะเน้นในส่วนงานปกครองมากกว่า แต่ก็ยังถือได้ว่า รัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ ต้องการปรับปรุงและแก้ไข ปัญหาในด้านต่างๆ เพราะฉะนั้น การที่เรามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็สามารถเป็นพื้นฐานที่ดีในการฟื้นฟูประเทศชาติ อย่างเต็มที่


5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข


ตอบ คำถาม มีความคิดเห็นอย่างไร ที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใด 

- ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะประเทศไทยกำลังปรับตัวในเข้ากับประชาคมโลก ดังนั้น บางอย่างในรัฐธรรมนูญค่อนข้างล้าสมัย หรือ มีช่องโหว่มากเกินไป ควรที่จะได้รับการแก้ไข 
- ทำไมถึงมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน 
ฉันคิดว่าเป็นการคัดผลประโยชน์ส่วนตัวค่ะ เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องส่วนตัวก็ไม่คัดค้านกันมากมายมีการเล่นพภัคเล่นพวก ทำให้เกิดการคัดค้านเพื่อเอาประโยชน์ใส่ฝ่ายตนเองของคนบางกลุ่ม
 6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจ 3 อำนาจ ที่ต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าตอบ ดิฉันมองว่า การปกครองประเทศยังต้องพัฒนากว่านี้ อีกมาก เพราะว่า ในหลายกระแสตอนนี้ โจมตีการตัดสินปัญหาต่างๆที่ขึ้นตรงต่อรัฐสภาว่า ยังมีการเคลือบแคลงอยู่ ที่ไม่ชัดเจนและเอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม จนทำให้เกิดการยัดแย้งอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน ทำให้ อำนาจทั้งสามนี้ยังไม่สามารถรักษาความมั่นคงให้เกิดแก่ชาติบ้านเมืองได้ หากยังไม่หยุดทะเลาะกันและช่วยเหลือกันเอง ประเทศไทยเราอาจจะเกิดปัญหาที่้ร้ายแรง และอาจทำให้ประเทศเกิดการสูญเสียที่ไม่คาดคิดได้


Nitty Jubjub^_^


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

My Self






ประวัติการศึกษา
และ
ประวัติส่วนตัว


ชื่อ               : นางสาวนิตยา  จินดา
ชื่อเล่น        : นิต

วันเกิด       : 28 กรกฏาคม พ.ศ.2533
สีที่ชอบ    : สีฟ้า กะ สีส้ม 
รักสุดใจ   : โดราเอม่อน (อ้วนกลม อ้วนกลม)
คติ          : ทำทุกๆวันให้ดีที่สุด เพราะถ้าเราทำทุกอย่างให้ดีที่สุดสำหรับเราแล้วผลที่ออกมา 
                จะดีหรือไม่       ดี ก็คือ      การที่เราทำมันดีที่สุดแล้ว(^_^)


จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งหัวนา

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์

กำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ  ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ที่พักใจที่สบายที่สุด : สี่ขีด อำเภอ สิชล จังหวัด นครศรีธรรมราช

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


                                                             กิจกรรมที่ 1

                                        คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

- บรรทัดฐาน           หมายถึง  ค่านิยมที่ยึดถือต่อกันมา

- บุคคลล้มละลาย  หมายถึง  เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าหนึ่งล้านแล้วถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย

- บัญชีเดินสะพัด  หมายถึง  สัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

- อสังหาริมทรัพย์  หมายถึง  ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

- ชาวไทย หมายถึง  ประชาชนที่รับสัญชาติไทยโดยถูกกฎหมาย

- โจทก์  หมายถึง  พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน

- จำนอง  หมายถึง  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

- จำนำ  หมายถึง  สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

- หมิ่นประมาท  หมายถึง  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

- สินไหมทดแทน  หมายถึง การชดใช้ค่าเสียหาย

- การสืบสวน  หมายถึง  การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด

- การสอบสวน  หมายถึง  การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ

- กฎหมาย  หมายถึง  บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ
- คดีแพ่ง  หมายถึง  คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน

- คดีอาญา  หมายถึง  เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน

- คำกล่าวโทษ  หมายถึง  การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น

- ความผิดซึ่งหน้า  หมายถึง  การพบเห็นการกำลังกระทำความผิดหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้ว

- คนต่างด้าว  หมายถึง  คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

- นิติบุคคล  หมายถึง  ไม่ใช่บุคคลธรรมดามีสถานะเป็นองค์กรห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทสมาคมหรือวัดก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล

- นิติกรรม  หมายถึง  การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

ที่มา  : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก   http://www.lawamendment.go.th/   [ 9 พฤศจิกายน 2555 ]